หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis)


การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) เป็นวิธีการทางสถิติที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพื่อต้องการทราบว่าตัวแปรพยากรณ์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าตัวแปรต้น (independent variable) มีอิทธิพลหรือมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรผลหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าตัวแปรตาม (dependent variable) อย่างไร เพื่อนำมาใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงหรือพยากรณ์ตัวแปรผล สามารถใช้โปรแกรม PSPP และโปรแกรม OpenStat วิเคราะห์ได้ดังนี้
ตัวอย่าง การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ต้องการวิเคราะห์ว่ายอดขายสินค้า (TotalSale) ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้างดังต่อไปนี้ จำนวนพนักงานขาย (Saleman) ค่าโฆษณา (Advertising) และ ประสบการณ์ของผู้จัดการสาขา (Experience) โดยทดสอบที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)


Oneway ANOVA (ANalysis Of VAriance) เป็นวิธีการเปรียบเทียบพารามิเตอร์ เช่น ค่าเฉลี่ย (µ) ค่าความแปรปรวน (σ2) ของกลุ่มประชากรตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไปซึ่งผู้วิจัยสามารถเลือกใช้สถิติที (t-test) ทดสอบได้โดยทำการเปรียบเทียบทีละคู่ ในหัวข้อนี้จะใช้คำสั่ง One way ANOVA ซึ่งมีอยู่ในโปรแกรม PSPP
ข้อตกลงเบื้องต้น
1.ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์จะต้องอยู่ในมาตราวัดอันตรภาค (interval) ขึ้นไป
2.กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มจากประชากรและเป็นอิสระจากกัน
3.ข้อมูลของประชากรแต่ละชุดมีการแจกแจงแบบปกติ (normal distribution) 

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis)


การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) เป็นวิธีการทางสถิติที่ใช้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว สามารถใช้โปรแกรม PSPP และ OpenStat หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation(r)) ถ้าย้อนกลับไปดูเรื่องการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มที่มีความสัมพันธ์กันโดยใช้สถิติ t (Paired-sample t-test) โปรแกรม PSPP จะทำการคำนวณค่าสหสัมพันธ์ให้โดยอัตโนมัติ ผู้วิเคราะห์จะต้องทำการตรวจสอบค่าสหสัมพันธ์ก่อน ถ้าตัวแปรของประชากรทั้ง 2 กลุ่มมีความสัมพันธ์กันจึงจะสามารถดำเนินการต่อไปได้ 
ในการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สันหรือสหสัมพันธ์อย่างง่าย ผู้วิจัยต้องเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกันโดยมี 2 ตัวแปรที่ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ ซึ่งอยู่ในมาตราเรียงอันดับ (Ordinal Scale) ขึ้นไป