หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

การจำลองสถานะการณ์ด้วยโปรแกรม LazStats


LazStats เป็นโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ประเภท Open Source Software อีกโปรแกรมหนึ่งของ Professor Bill Miller แห่งมหาวิทยาลัยไอโอวา ประเทศสหรัฐอเมริกา
LazStats สามารถจำลองสถานการณ์ (simulation) การทดสอบและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติได้หลายรูปแบบ โดยผู้ใช้สามารถสร้างแบบจำลองต่างๆขึ้นมาศึกษาได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เข้าใจสถิติต่างๆได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น 
โปรแกรม LazStats ได้รับการปรับปรุงและเพิ่มเติมขีดความสามารถมาโดยตลอด ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2557 เช่นเดียวกับโปรแกรม OpenStat ซึ่งได้รับการ update ล่าสุดเมือ 13 มิถุนายน 2557 
อ่านบทความเกี่ยวกับ OpenStat..» การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติด้วย PSPP และ OpenStat  
สามารถดาวน์โหลดโปรแกรม LazStats และ OpenStat ได้ที่..» http://statpages.info/miller/ 

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

การผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่น

                                    
แอนิเมชั่น (animation) คือขบวนการทำภาพให้เกิดการเคลื่อนไหว หรือการสร้างและเชื่อมโยงภาพที่มีท่าทางแตกต่างกันเล็กน้อยแต่ขยับอย่างต่อเนื่อง โดยนำมาเรียงต่อกันจนทำให้เกิดการเคลื่อนไหว วิธีการที่จะทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้นั้นขึ้นอยู่กับเทคนิคและความคิดสร้างสรรค์ส่วนบุคคลในการนำเสนอ 
แอนิเมชั่น สร้างโดยการนำภาพต่อเนื่องของการเคลื่อนไหวซึ่งเรียกว่าเฟรม (frame) มาแสดงต่อกันบนจอภาพไปทีละเฟรมด้วยความเร็วหลายๆเฟรมต่อวินาที ทำให้มองเห็นว่ามีการเคลื่อนไหวของวัตถุบนจอภาพ แอนิเมชั่นมีทั้งแบบ 2 มิติและ 3 มิติ การสร้างการ์ตูน 2 มิติ ในยุคย้อนหลังไปกว่า 30 ปี จะต้องวาดภาพเป็นจำนวนมากกว่าจะได้การ์ตูนสักเรื่องหนึ่ง ลองจินตนาการดูว่า ถ้าต้องการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนความยาว 30 นาทีด้วยอัตรา Frame rate = 20 fps (frame per second หรือ แพร่ภาพจำนวน 20 ภาพใน 1 วินาที) จะต้องวาดภาพจำนวนกี่ภาพ.?.
ปัจจุบัน การสร้างภาพแอนิเมชั่นด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ผู้สร้างเพียงแต่สร้างคีย์เฟรม (key frame) และกำหนดตำแหน่งของคีย์เฟรมเหล่านั้นขึ้นมา คอมพิวเตอร์จะจำตำแหน่งของวัตถุต่างๆในแต่ละคีย์เฟรมไว้ แล้วทำการสร้างเฟรม(หลายๆเฟรม) ที่อยู่ระหว่างคีย์เฟรมขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเรียกว่า inbetween (อ่านว่า อิน-บี-ทะ-วีน) ทำให้ร่นระยะเวลาในการสร้างได้มาก..

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

WordPress มาแรง แซง CMS ทุกระบบ



เมื่อกล่าวถึงโปรแกรมประเภท CMS (Content Manageament System) หรือระบบโปรแกรมจัดการข้อมูลและการนำเสนอบนเว็บไซต์ CMS ที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน คือ The BIG Three ซึ่งก็คือ Drupal,  WordPress และ Joomla
สำหรับมืออาชีพแล้ว คงตัดสินใจไม่ยากว่าจะเดินหน้าต่อด้วย CMS ระบบไหน แต่สำหรับมือใหม่ คงต้องศึกษาข้อมูล หรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญก่อน สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องประเมินตัวเองด้วยว่า มีพื้นฐานและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์มากน้อยแค่ไหน?

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การสร้างแบบจำลองการทดลองทางฟิสิกส์และเคมี

Yenka Science เป็นโปรแกรมที่พัฒนามาจากโปรแกรม Crocodile Physics & Chemistry มีจุดประสงค์ เพื่อจำลองการทดลองเสมือนจริง โดยมีอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นในการสร้างการทดลองอย่างครบถ้วน ทั้งในวิชาเคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ครูและนักเรียนสามารถทำการทดลองได้อย่างอิสระและกว้างไกล มองเห็นผลชัดเจน เกิดความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้บทความนี้นำเสนอแบบจำลอง 2 แบบ คือ แบบจำลองอัตราเร็วของเสียง (speed of sound) และแบบจำลองการกลั่นลำดับส่วน (fractional distillation)

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การใช้คำสั่ง Crosstabs ในโปรแกรม PSPP


คำสั่ง Crosstabs เป็นคำสั่งที่ใช้สร้างตารางแจกแจงความถี่ (frequency table) แบบตารางไขว้ (cross tabulation) นอกจากนั้นยังสามารถใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรได้ด้วยสถิติทดสอบไค สแควร์ (Chi-Square Test)
ตัวอย่าง การสร้าง Cross Tabulations ด้วยโปรแกรม PSPP โดยใช้คำสั่ง Crosstabs
1.กำหนดคุณสมบัติของตัวแปรต่างๆ ที่มีระดับการวัดของข้อมูลแบบนามบัญญัติ (Norminal Scale) หรือแบบลำดับ (Ordinal Scale)

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis)


การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) เป็นวิธีการทางสถิติที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพื่อต้องการทราบว่าตัวแปรพยากรณ์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าตัวแปรต้น (independent variable) มีอิทธิพลหรือมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรผลหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าตัวแปรตาม (dependent variable) อย่างไร เพื่อนำมาใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงหรือพยากรณ์ตัวแปรผล สามารถใช้โปรแกรม PSPP และโปรแกรม OpenStat วิเคราะห์ได้ดังนี้
ตัวอย่าง การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ต้องการวิเคราะห์ว่ายอดขายสินค้า (TotalSale) ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้างดังต่อไปนี้ จำนวนพนักงานขาย (Saleman) ค่าโฆษณา (Advertising) และ ประสบการณ์ของผู้จัดการสาขา (Experience) โดยทดสอบที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)


Oneway ANOVA (ANalysis Of VAriance) เป็นวิธีการเปรียบเทียบพารามิเตอร์ เช่น ค่าเฉลี่ย (µ) ค่าความแปรปรวน (σ2) ของกลุ่มประชากรตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไปซึ่งผู้วิจัยสามารถเลือกใช้สถิติที (t-test) ทดสอบได้โดยทำการเปรียบเทียบทีละคู่ ในหัวข้อนี้จะใช้คำสั่ง One way ANOVA ซึ่งมีอยู่ในโปรแกรม PSPP
ข้อตกลงเบื้องต้น
1.ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์จะต้องอยู่ในมาตราวัดอันตรภาค (interval) ขึ้นไป
2.กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มจากประชากรและเป็นอิสระจากกัน
3.ข้อมูลของประชากรแต่ละชุดมีการแจกแจงแบบปกติ (normal distribution) 

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis)


การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) เป็นวิธีการทางสถิติที่ใช้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว สามารถใช้โปรแกรม PSPP และ OpenStat หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation(r)) ถ้าย้อนกลับไปดูเรื่องการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มที่มีความสัมพันธ์กันโดยใช้สถิติ t (Paired-sample t-test) โปรแกรม PSPP จะทำการคำนวณค่าสหสัมพันธ์ให้โดยอัตโนมัติ ผู้วิเคราะห์จะต้องทำการตรวจสอบค่าสหสัมพันธ์ก่อน ถ้าตัวแปรของประชากรทั้ง 2 กลุ่มมีความสัมพันธ์กันจึงจะสามารถดำเนินการต่อไปได้ 
ในการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สันหรือสหสัมพันธ์อย่างง่าย ผู้วิจัยต้องเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกันโดยมี 2 ตัวแปรที่ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ ซึ่งอยู่ในมาตราเรียงอันดับ (Ordinal Scale) ขึ้นไป

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การวัดคุณภาพของเครื่องมือวิจัยด้วย PSPP


การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยเป็นขั้นตอนสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งที่นักวิจัยต้องดำเนินการก่อนนำเครื่องมือนั้นไปใช้ ในหัวข้อนี้จะอธิบายแนวทางการนำโปรแกรม PSPP มาใช้คำนวณหาค่าสถิติที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมในขั้นตอนต่างๆของการวิจัย สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามขอแนะนำหนังสือ 3 เล่มที่ผู้เขียนใช้อ่านประกอบการวิจัย เป็นหนังสือที่ดีมากใช้คำอธิบายง่ายๆสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง เล่มแรกคือ "การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS" โดย รศ.ธานินทร์ ศิลป์จารุ เล่มต่อไปคือ "การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย" โดย ดร.ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน อีกเล่มหนึ่งคือ "การสร้างและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม" เล่มนี้มีผู้ร่วมเขียน 3 ท่านคือ รศ.ดร.สรชัย พิศาลบุตร รศ.เสาวรส ใหญ่สว่าง และ รศ.ปรีชา อัศวเดชานุกร 

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติด้วย PSPP และ OpenStat


การเลือกสถิติใดๆจะต้องคำนึงถึงข้อตกลงเบื้องต้นของสถิตินั้น ซึ่งสถิติแต่ละตัวมีข้อตกลงเบื้องต้นแตกต่างกัน ผู้วิจัยจะต้องทำความเข้าใจและยึดถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะถ้าหากฝ่าฝืนข้อตกลงเหล่านั้น จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม จะทำให้ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของผลการทดสอบลดลง
สถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 
 1.สถิติอ้างอิงมีพารามิเตอร์ (Parametric Inferential Statistics) 
 2.สถิติอ้างอิงไม่มีพารามิเตอร์ (Non-Parametric Inferential Statistics) 
  ในสถิติแต่ละประเภทมีข้อตกลงเบื้องต้นดังนี้


การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม PSPP


โปรแกรม PSPP เป็น Open Source Software ที่มีฟังก์ชั่นการทำงานเหมือนกับโปรแกรม SPSS แต่ความสามารถยังเป็นรองในหลายๆด้าน PSPP มีฟังก์ชั่นการทำงานทั้งในส่วนของสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) และสถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) PSPP ไม่มีคำเต็มที่เป็นทางการแต่อาจหมายความถึง Perfect Statistics Professionally Presented หรือ Probabilities Sometimes Prevent Problems หรือ People Should Prefer PSPP หรือผู้ใดมีข้อความอื่นๆที่สอดคล้องกันก็สามารถโพสต์ขึ้นไปได้  ได้ทดลองใช้โปรแกรม PSPP สอนนักศึกษาปริญญาโทวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติทั้งในส่วนของ Descriptive Statistics และ Inferential Statistics โดยสอนการเปรี่ยบเทียบค่าเฉลี่ยในกรณีต่างๆโดยใช้คำสั่งในเมนู Compare Means ซึ่งมีอยู่ 4 คำสั่งคือ One Sample T test, Independent Samples T test, Paired Samples T test และ One way ANOVA พบว่ามีความสามารถเทียบเท่ากับโปรแกรม SPSS จะด้อยกว่าในส่วนของการรายงานผลเท่านั้น...เว็บไซต์ PSPP>>