Yenka
Science
เป็นโปรแกรมที่พัฒนามาจากโปรแกรม Crocodile Physics &
Chemistry มีจุดประสงค์ เพื่อจำลองการทดลองเสมือนจริง โดยมีอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นในการสร้างการทดลองอย่างครบถ้วน
ทั้งในวิชาเคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ครูและนักเรียนสามารถทำการทดลองได้อย่างอิสระและกว้างไกล
มองเห็นผลชัดเจน เกิดความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้บทความนี้นำเสนอแบบจำลอง
2 แบบ คือ แบบจำลองอัตราเร็วของเสียง (speed of sound)
และแบบจำลองการกลั่นลำดับส่วน (fractional distillation)
แบบจำลองอัตราเร็วของเสียง (Speed of sound)
อัตราเร็วของเสียง คือระยะทางที่เสียงเดินทางไปในตัวกลางใดๆได้ในหนึ่งหน่วยเวลา อัตราเร็วที่เสียงเดินทางได้นั้นอาจมีค่ามากขึ้นหรือน้อยลง ขึ้นอยู่กับชนิดและอุณหภูมิของตัวกลางเป็นหลัก
เนื่องจากการเดินทางของเสียงอาศัยการสั่นของโมเลกุลของตัวกลาง ดังนั้นเสียงจะเดินทางได้เร็วขึ้นหากตัวกลางมีความหนาแน่นมาก ดังนั้นเสียงจึงเดินทางในของแข็งได้เร็วกว่าในของเหลว แต่เดินทางไม่ได้ในอวกาศ เพราะอวกาศเป็นสูญญากาศ จึงไม่มีโมเลกุลของตัวกลางอยู่ ในแบบจำลองของ Yenka Science (Physics) ครูนักเรียนสามารถทดลองหาอัตราเร็วของเสียง และลักษณะของคลื่นเสียงในตัวกลางต่างๆได้ ดังนี้
อัตราเร็วของเสียง คือระยะทางที่เสียงเดินทางไปในตัวกลางใดๆได้ในหนึ่งหน่วยเวลา อัตราเร็วที่เสียงเดินทางได้นั้นอาจมีค่ามากขึ้นหรือน้อยลง ขึ้นอยู่กับชนิดและอุณหภูมิของตัวกลางเป็นหลัก
เนื่องจากการเดินทางของเสียงอาศัยการสั่นของโมเลกุลของตัวกลาง ดังนั้นเสียงจะเดินทางได้เร็วขึ้นหากตัวกลางมีความหนาแน่นมาก ดังนั้นเสียงจึงเดินทางในของแข็งได้เร็วกว่าในของเหลว แต่เดินทางไม่ได้ในอวกาศ เพราะอวกาศเป็นสูญญากาศ จึงไม่มีโมเลกุลของตัวกลางอยู่ ในแบบจำลองของ Yenka Science (Physics) ครูนักเรียนสามารถทดลองหาอัตราเร็วของเสียง และลักษณะของคลื่นเสียงในตัวกลางต่างๆได้ ดังนี้
ภาพที่ 1 เสียงไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศ (vacuum)
ภาพที่ 2 กำหนดตัวกลางเป็นอากาศที่ 0 องศาเซลเซียส (Air
0 degC) อัตราความเร็วของเสียงเพิ่มขึ้นเป็น 331.4 เมตร/วินาที
ภาพที่ 3 เมื่ออุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้นเป็น 30 องศาเซลเซียส (Air
30 degC) อัตราความเร็วของเสียงจะเพิ่มขึ้นเป็น 349.7 เมตร/วินาที
ภาพที่ 4 กำหนดตัวกลางให้เป็นน้ำ (water) อัตราความเร็วของเสียงเพิ่มขึ้นเป็น
1,500 เมตร/วินาที (1.5 km/s)
ภาพที่ 5 กำหนดตัวกลางให้เป็นไม้ (wood) อัตราความเร็วของเสียงเพิ่มขึ้นเป็น
3,314 เมตร/วินาที (3.314 km/s)
แบบจำลองการกลั่นลำดับส่วน (fractional
distillation)
เป็นการแยกสารผสมออกจากกันให้อยู่ ในรูปขององค์ประกอบย่อยแต่ละตัว เช่น การแยกสารประกอบทางเคมี โดยใช้ความแตกต่างของจุดเดือด ด้วยการให้ความร้อนกับสารประกอบนั้น ซึ่งสารประกอบแต่ละตัวจะถูกแยกออกมาที่อุณหภูมิแตกต่างกัน
เริ่มต้นด้วยการนำอุปกรณ์ต่างๆมาประกอบเป็นชุดกลั่น ซึ่งประกอบด้วย Round-bottomed flask, Beaker, Condenser, Electric heater
เป็นการแยกสารผสมออกจากกันให้อยู่ ในรูปขององค์ประกอบย่อยแต่ละตัว เช่น การแยกสารประกอบทางเคมี โดยใช้ความแตกต่างของจุดเดือด ด้วยการให้ความร้อนกับสารประกอบนั้น ซึ่งสารประกอบแต่ละตัวจะถูกแยกออกมาที่อุณหภูมิแตกต่างกัน
เริ่มต้นด้วยการนำอุปกรณ์ต่างๆมาประกอบเป็นชุดกลั่น ซึ่งประกอบด้วย Round-bottomed flask, Beaker, Condenser, Electric heater
ภาพที่ 1 ชุดกลั่นลำดับส่วน
ภาพที่ 2 นำน้ำ (water) 50 มิลิลิตร (cm3) มาใส่ลงใน Round-bottomed flask
ภาพที่ 3 นำเอทานอล (ethanol) 50 มิลิลิตร (cm3)
มาใส่ลงใน Round-bottomed flask จะได้สารประกอบทางเคมี
100 มิลิลิตร
ภาพที่ 4 เริ่มต้นกลั่นลำดับส่วน โดยปรับอุณหภูมิไปที่ 90 องศาเซลเซียส (เอทานอลมีจุดเดือดที่
78 องศาเซลเซียส ส่วนน้ำมีจุดเดือดที่ 100 องศาเซลเซียส) ทำให้ปริมาณของเอทานอลใน Round-bottomed flask เริ่มลดลง (เอทานอลบางส่วนเริ่มระเหยและถูกควบแน่นไปเก็บไว้ใน beaker)
และเมื่อเวลาผ่านไป ปริมาณของเอทานอลใน beaker เพิ่มขึ้นเป็น 17.989 มิลิลิตร โดยมีน้ำผสมอยู่ 1.555
มิลิลิตร
ภาพที่ 5 เมื่อแยกเอทานอลออกจากน้ำหมดแล้ว ลดอุณหภูมิลงเป็น 25 องศาเซลเซียส จะเห็นว่าปริมาณของเอทานอลใน beaker เท่ากับ
39.065 มิลิลิตร มีน้ำผสมอยู่ 5.21 มิลิลิตร
ซึ่งสามารถแยกออกได้โดยการทำการกลั่นลำดับส่วนอีกครั้งหนึ่ง
ภาพที่ 6 ชุดกลั่นลำดับส่วนที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมีทั่วไป
เอกสารอ้างอิง
» คู่มือการใช้โปรแกรม Yenka Science(Physics) บริษัท เอเชี่ยน ไอ.ที. จำกัด
» คู่มือการใช้โปรแกรม Yenka Science(Chemistry) บริษัท เอเชี่ยน ไอ.ที. จำกัด
» http://www.yenka.com/science/
» คู่มือการใช้โปรแกรม Yenka Science(Physics) บริษัท เอเชี่ยน ไอ.ที. จำกัด
» คู่มือการใช้โปรแกรม Yenka Science(Chemistry) บริษัท เอเชี่ยน ไอ.ที. จำกัด
» http://www.yenka.com/science/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น