หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การวัดคุณภาพของเครื่องมือวิจัยด้วย PSPP


การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยเป็นขั้นตอนสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งที่นักวิจัยต้องดำเนินการก่อนนำเครื่องมือนั้นไปใช้ ในหัวข้อนี้จะอธิบายแนวทางการนำโปรแกรม PSPP มาใช้คำนวณหาค่าสถิติที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมในขั้นตอนต่างๆของการวิจัย สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามขอแนะนำหนังสือ 3 เล่มที่ผู้เขียนใช้อ่านประกอบการวิจัย เป็นหนังสือที่ดีมากใช้คำอธิบายง่ายๆสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง เล่มแรกคือ "การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS" โดย รศ.ธานินทร์ ศิลป์จารุ เล่มต่อไปคือ "การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย" โดย ดร.ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน อีกเล่มหนึ่งคือ "การสร้างและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม" เล่มนี้มีผู้ร่วมเขียน 3 ท่านคือ รศ.ดร.สรชัย พิศาลบุตร รศ.เสาวรส ใหญ่สว่าง และ รศ.ปรีชา อัศวเดชานุกร 

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติด้วย PSPP และ OpenStat


การเลือกสถิติใดๆจะต้องคำนึงถึงข้อตกลงเบื้องต้นของสถิตินั้น ซึ่งสถิติแต่ละตัวมีข้อตกลงเบื้องต้นแตกต่างกัน ผู้วิจัยจะต้องทำความเข้าใจและยึดถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะถ้าหากฝ่าฝืนข้อตกลงเหล่านั้น จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม จะทำให้ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของผลการทดสอบลดลง
สถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 
 1.สถิติอ้างอิงมีพารามิเตอร์ (Parametric Inferential Statistics) 
 2.สถิติอ้างอิงไม่มีพารามิเตอร์ (Non-Parametric Inferential Statistics) 
  ในสถิติแต่ละประเภทมีข้อตกลงเบื้องต้นดังนี้


การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม PSPP


โปรแกรม PSPP เป็น Open Source Software ที่มีฟังก์ชั่นการทำงานเหมือนกับโปรแกรม SPSS แต่ความสามารถยังเป็นรองในหลายๆด้าน PSPP มีฟังก์ชั่นการทำงานทั้งในส่วนของสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) และสถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) PSPP ไม่มีคำเต็มที่เป็นทางการแต่อาจหมายความถึง Perfect Statistics Professionally Presented หรือ Probabilities Sometimes Prevent Problems หรือ People Should Prefer PSPP หรือผู้ใดมีข้อความอื่นๆที่สอดคล้องกันก็สามารถโพสต์ขึ้นไปได้  ได้ทดลองใช้โปรแกรม PSPP สอนนักศึกษาปริญญาโทวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติทั้งในส่วนของ Descriptive Statistics และ Inferential Statistics โดยสอนการเปรี่ยบเทียบค่าเฉลี่ยในกรณีต่างๆโดยใช้คำสั่งในเมนู Compare Means ซึ่งมีอยู่ 4 คำสั่งคือ One Sample T test, Independent Samples T test, Paired Samples T test และ One way ANOVA พบว่ามีความสามารถเทียบเท่ากับโปรแกรม SPSS จะด้อยกว่าในส่วนของการรายงานผลเท่านั้น...เว็บไซต์ PSPP>>